5 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนใช้ AI ช่วยทำงาน

Generative AI Generative AI กำลังกลายเป็นเครื่องมือยอดฮิตไม่ใช่แค่คนทำงาน แต่คนทั่วไปก็ยังนิยมใช้ไม่ว่าจะสร้างรูปภาพสวย ๆ หรือใช้หาข้อมูลในการทำงานก็ตาม และด้วยที่ Generative AI เข้าถึงง่ายมากพอ ๆ กับ Social Media แถมหลายเจ้าก็ให้ใช้ฟรี ทำให้ไม่ว่าจะส่วนตัวหรือพนักงานในหลายองค์กรจึงนิยมใช้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว บวกกับหลายองค์กรที่สนับสนุนให้พนักงานมีทักษะด้าน AI ด้วย แต่ในความจริงนั้นการใช้งาน AI ประเภท Generative AI ก็มีความเสี่ยงในหลายด้าน บทความนี้จะขอแนะนำ 5 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนใช้ Generative AI ช่วยทำงาน
Generative AI คืออะไร?
Generative AI คือปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถ “สร้างสรรค์เนื้อหาใหม่” ได้ เช่น ข้อความ รูปภาพ เพลง หรือโค้ด โดยเรียนรู้จากข้อมูลที่ได้รับการฝึกมา ไม่ใช่แค่ประมวลผลหรือวิเคราะห์ แต่สามารถ สร้างผลงานใหม่จากศูนย์ ได้จริง เช่น เขียนบทความ ออกแบบภาพ หรือแต่งเพลง โดยสอบสนองออกมาให้รูปแบบข้อความที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับบทสนทนาของมนุษย์เรา
5 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนใช้ AI ช่วยทำงาน
1. ผลลัพธ์อาจไม่ถูกต้องสมบูรณ์ 100%
Generative AI นั้นตอบคำถามเราด้วย "ข้อมูลที่ได้รับการฝึกมา" ซึ่งอาจเป็นข้อมูลในอดีต ข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อน และตัว Generative AI เองนั้นก็สร้างคำตอบโดยมักไม่มีระบบตรวจสอบความจริง (fact-check) จึงอาจนำข้อมูลต่าง ๆ มายำรวมแต่งเป็นเรื่องใหม่ที่คลาดเลื่อนได้ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า AI hallucination หรืออาการหลอนของ AI ที่ตอบคำถามแปลก ๆ หรือผิดอย่างมากออกมา
2. ตรวจสอบผลลัพธ์ก่อนใช้งานจริง
AI มีประโยชน์ แต่ยังต้องอาศัยการกลั่นกรองจากมนุษย์เสมอ (Human-in-the-Loop) ก่อนนำผลลัพธ์ไปใช้ เราควรตรวจให้แน่ใจว่า เหมาะสมกับบริบทหรือเป้าหมายของเราหรือไม่ และหากเป็นการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ด้วยแล้ว อาจต้องดูเรื่องของลิขสิทธิ์เพิ่มเติมด้วย
3. นโยบายการใช้งาน
หลายองค์กรเปิดกว้างให้พนักงานใช้ AI ได้เสรี บางองค์กรจำกัดบางอย่าง บางองค์กรอาจยังไม่อนุญาตให้ใช้ การใช้งานจึงต้องตรวจสอบให้ดีว่า องค์กร หรือที่ทำงานที่คุณทำงานอยู่อนุญาตให้ใช้หรือไม่ ? และมีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในการใช้งานอย่างไร
4. AI ตัวเดียวไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง
แม้ Generative AI จะสร้างผลลัพธ์ได้อย่างน่าทึ่ง แต่ผู้ใช้ก็ต้องเข้าใจสิ่งที่ AI ทำได้และจำกัดของมัน เพราะ ณ ปัจจุบันไม่มี AI ตัวใดตัวหนึ่งที่เก่งหรือทำได้ทุกอย่าง AI ถึงแม้จะทำได้หลายอย่าง แต่ AI แต่ละตัวถูกพัฒนาในเป้าหมายที่ต่างกันไป จึงมีความเก่งในแต่ละด้านต่างกันไป
5. หลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลสำคัญ
Generative AI นั้นตอบคำถามเราด้วย "ข้อมูลที่ได้รับการฝึกมา" ซึ่งมันมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Machine Learning) จากข้อมูลและผลลัพธ์ที่ผู้ใช้อย่างเรา ๆ ตอบสนองหรือป้อนเข้าไป เราสามารถอัพโหลดไฟล์เอกสาร แล้วให้ Generative AI สรุปเนื้อหาให้เราได้, เราสามารถใส่ภาพถ่ายเราแล้วให้ Generative AI สร้างภาพแนวการ์ตูนหรือโมเดล 3 มิติออกมาได้ นั่นแปละว่า Generative AI สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เราใส่เข้าไป เพราะฉะนั้น หลีกเลี่ยงการป้อนข้อมูลที่เป็นความลับเข้าไปเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร, รูปภาพ, หรือแม้แต่ข้อความ prompt ก็ตาม เพราะข้อมูลที่เราใส่เข้าไปใน Generative AI อาจนำข้อมูลที่เราป้อนไปใช้ในการฝึกระบบต่อ ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลหลุดไปถึงผู้ใช้งานรายอื่นโดยไม่ตั้งใจ และเราไม่อาจรู้เลยว่าข้อมูลถูกจัดเก็บไว้ที่ไหน หรือใช้ในลักษณะใดต่อไป และหากข้อมูลรั่วไหลออกไป หากเป็นข้อมูลด้านบุคคล ข้อมูลลูกค้า ก็จะเสี่ยงที่จะผิดในเรื่อง PDPA
ความแตกต่างหระว่าง AI แบบสาธารณะ (Public AI) กับ AI แบบองค์กร (Enterprise AI)
แต่ข้อจำกัดนี้จะอยู่ที่ Public AI เป็นหลัก ซึ่งก็คือ AI ที่เปิดให้ใช้ฟรีแบบทั่วไป (อย่างเช่น ChatGPT, Google Gemini, Claude AI, DeepSeek เป็นต้น) ซึ่งหลายเจ้าที่ให้บริการ Generative AI ก็มีบริการ การใช้งาน AI แบบองค์กร ที่จะไม่มีการนำข้อมูลที่พนักงานหรือผู้ใช้ป้อนเข้าไป ไปเทรนด์หรือฝึกสอนให้กับตัว Public AI ของตัวเอง ซึ่งหมายความว่า AI แบบองค์กรมักจะมีการรับรองเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลให้ เพื่อให้เหมาะกับการทำงานเฉพาะในองค์กรนั้น ๆ โดยที่ข้อมูลถูกควบคุมและปกป้องไม่ให้รั่วไหลออกไปสู่ภายนอก และสามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับมาตรฐานความปลอดภัยและข้อกฎหมายที่องค์กรต้องปฏิบัติ อีกทั้งสามารถ Fine-tune และเชื่อมต่อกับระบบภายใน เช่น CRM, ERP, WMS, TMS ที่บริษัทมีได้
สรุป
การใช้ Generative AI ในการทำงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดเวลาได้อย่างมหาศาล แต่การเลือกใช้งานต้องมีความระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลสำคัญและข้อมูลลับขององค์กร ซึ่งไม่ควรถูกป้อนเข้าสู่ระบบ Public AI ที่ควบคุมไม่ได้ เพื่อให้การใช้ AI เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่เสี่ยงต่อความเสียหายทางธุรกิจในระยะยาว